เกี่ยวกับ PE
บริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ เดิมชื่อ บริษัท พรีเมียร์ ซัพพลาย จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 บริษัทแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2536 ต่อมาในปี 2543 บริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่เป็นบริษัทประกอบธุรกิจเพื่อการลงทุนหรือ Holding Company โดยลงทุนในธุรกิจบริการทางการเงิน (Specialty Finance) ต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ ธุรกิจให้บริการรถเช่ารถยนต์ประเภทต่างๆ เพื่อการดำเนินงาน (Operating Lease) ธุรกิจเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ให้บริการแนะนำและเป็นที่ปรึกษาด้านการประกันแก่ลูกค้า
บริษัทมีการลงทุนในบริษัทย่อย 2 แห่ง ดังนี้
1. บริษัท พรีเมียร์ แคปปิตอล (2000) จำกัด ดำเนินธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2. บริษัท พรีเมียร์โบรคเคอร์เรจ จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ให้บริการแนะนำและเป็นที่ปรึกษาด้านการประกันแก่ลูกค้า
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
เป็นบริษัทไทยที่มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจบริการที่ครบวงจรอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ
และมุ่งมั่นสร้างความสมดุลให้กับธุรกิจ พนักงาน และสังคม
พันธกิจ
- ให้บริการอย่างมีคุณภาพได้ระดับมาตรฐานสากล
- นำเสนอแนวความคิดใหม่ พัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
- ดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งพนักงาน องค์กร และสังคม
- ผสมผสานความรู้และความสามารถเพื่อร่วมคิดร่วมสร้างงานบริการ
- ดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และยึดหลักคุณธรรมจรรณยาบรรณ ด้วยวิถีแบบไทยที่ดีงาม
ปรัชญากลุ่มบริษัทพรีเมียร์
เพราะความสำเร็จไม่สามารถสร้างได้ด้วยตัวคนเดียวธุรกิจย่อมไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากมุ่งหวังเพียงผลกำไรของ องค์กรโดยขาดการสร้างคุณค่าสู่สังคมและพนักงาน ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ได้ยึดถือปฏิบัติตาม แนวคิด “ความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน” สิ่งที่ดีต่อธุรกิจต้องสร้างคุณค่าต่อสังคมและพนักงานของเรา จึงจะถือ เป็นความสำเร็จที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงธุรกิจของเรามุ่งมั่นไปสู่การเป็น “ธุรกิจก้าวหน้า พนักงานมั่นคง สังคมยั่งยืน” กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ใช้แนวคิดนี้ในการ ดำเนินธุรกิจของ 6 สายธุรกิจ อันได้แก่
- สายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค
- สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจโรงแรม
- สายธุรกิจสารสนเทศ
- สายธุรกิจการเงิน
- สายธุรกิจสิ่งแวดล้อม
- สายงานพัฒนาความยั่งยืนของสังคม
ในกระบวนการทำงานของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ เรามีคุณค่าหลัก 5 ประการเป็นแนวทาง อันประกอบด้วย
ซึ่งแนวคิดและคุณค่าหลักนี้จะนำพาให้กลุ่มบริษัทพรีเมียร์บรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นกลุ่มบริษัทไทยที่เป็นผู้นำในการทำ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านสังคม องค์กรและพนักงาน เพื่อสร้างความสุขที่ยั่งยืนร่วมกันให้เป็นจริง
โครงสร้างการถือหุ้น
โครงสร้างการจัดการ
โดยรายละเอียดของคณะกรรมการ มีดังนี้
คณะกรรมการบริษัท
1. นายกิตติศักดิ์ เบญจฤทธิ์ | ประธานกรรมการ |
2. นางเพ็ญศรี เดชติ่งเอง | กรรมการ |
3. นางแน่งน้อย บุณยะสาระนันท์ | กรรมการ |
4. นางวไลรัตน์ ผ่องจิตต์ | กรรมการผู้จัดการ และ กรรมการ |
คณะกรรมการบริษัท และประวัติคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัท
นายกิตติศักดิ์ เบญจฤทธิ์ |
ประธานกรรมการ |
นางเพ็ญศรี เดชติ่งเอง |
กรรมการ |
นางแน่งน้อย บุณยะสาระนันท์ |
กรรมการ |
นางวไลรัตน์ ผ่องจิตต์ |
กรรมการและกรรมการผู้จัดการ |
ประวัติเลขานุการบริษัท
นางสาวจริญญา ศิริสืบ |
เลขานุการบริษัท |
เอกสารบริษัท
ข้อบังคับบริษัท
หมวดที่ 1 บททั่วไป
ข้อ 1. | ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับของบริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) |
ข้อ 2. | คำว่า “บริษัท” ในข้อบังคับนี้ หมายถึง บริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) |
ข้อ 3. | ข้อบังคับนี้ถ้ามิได้ตราไว้เป็นประการอื่น ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับทุกประการ |
หมวดที่ 2 การออกหุ้น
ข้อ 4. | หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญ มีมูลค่าหุ้นละหน่ึงบาทอย่างไรก็ดีบริษัทอาจเพิ่มทุนของบริษัทโดยออกหุ้นสามัญและหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ได้ และมีสิทธิออกหุ้นบุริมสิทธ์ิ ซึ่งสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ |
ข้อ 5. | ใบหุ้นของบริษัทนี้ เป็นหุ้นชนิดระบุชื่อผู้ถือหุ้น และ ต้องมีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสําคัญของบริษัท แต่กรรมการอาจมอบหมายให้นายทะเบียนหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ลงหรือพิมพ์ลายมือช่ือแทนได้และ หากบริษัทมอบหมายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนหุ้นของบริษัทวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับงานทะเบียนหุ้นของบริษัทให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนหุ้นกําหนด |
ข้อ 6. | บริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท หรือ นับแต่วันที่ได้รับเงินค่าหุ้นครบถ้วน กรณีจําหน่ายหุ้นท่ีออกใหม่ภายหลังจดทะเบียนบริษัท |
ข้อ 7. | ใบหุ้นฉบับใดชำรุดหรือลบเลือนในสาระสำคัญ ผู้ถือหุ้นอาจขอให้บริษัทออกใบหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยเวนคืนใบหุ้นเดิมในกรณีนี้บริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นใหม่ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ในกรณีใบหุ้นสูญหายหรือถูกทำลายผู้ถือหุ้นจะต้องนำหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและหลักฐานอื่นที่บริษัทกำหนดมาแสดงต่อบริษัท บริษัทจะออกใบหุ้นใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด |
ข้อ 8. | บริษัทอาจเรียกค่าธรรมเนียมในการออกใบหุ้นใหม่แทนใบหุ้นที่สูญหาย ลบเลือน หรือ ชํารุด หรือในการ ที่ผู้ถือหุ้นขอสําเนาทะเบียนผู้ถือหุ้นไม่ว่าทั้งหมดหรือ |
ข้อ 9. | การส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นร่วมกันน้ัน บริษัทต้องส่งมอบให้แก่บุคคลใดบุคคลหน่ึงในจํานวน ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ซึ่งต้องได้รับแต่งตั้งเพียงบุคคลเดียวให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นนั้น |
ข้อ 10. | ห้ามมิให้บริษัทเป็นเจ้าของหุ้นหรือรับจํานําหุ้นของบริษัทเอง |
หมวดที่ 3 การโอนหุ้น
ข้อ 11. | หุ้นของบริษัทให้โอนกันได้โดยเสรี เว้นแต่ |
11.1. การโอนหุ้นนั้นอาจทำให้บริษัทเสียสิทธิและผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับ ตามกฎหมาย หรือ | |
11.2. การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีบุคคลผู้มีสัญชาติต่างด้าวถือหุ้นของบริษัทรวมทั้งสิ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบของ จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว | |
ข้อ 12. | บริษัทอาจปิดงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้นในระหว่าง 21 วัน ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้งก็ได้ โดยประกาศให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทุกแห่ง (ถ้ามี) ไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนวันเริ่มงดรับลงทะเบียนการโอนหุ้น |
ข้อ 13. | การโอนหุ้นย่อมสมบูรณ์เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้น โดยระบุชื่อผู้รับโอนและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน และส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้รับโอนการโอนหุ้นใช้ยันบริษัทได้เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียนโอนหุ้นแล้ว และใช้ยันบุคคลภายนอกได้เมื่อบริษัทได้ลงทะเบียนการโอนหุ้นแล้ว ผู้ใดได้สวมสิทธิของผู้ถือหุ้นโดยทางมรดก ต้องแสดงหลักฐานอันชอบด้วยกฎหมายแก่บริษัท เมื่อบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นถูกต้องตามกฎหมายให้บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ หากการโอนหุ้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้บริษัทแจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องภายใน 7 วัน หากหุ้นของบริษัทได้รับการจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การโอนหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ |
หมวดที่ 4 คณะกรรมการ
ข้อ 14. | คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็น ผู้แต่งตั้งและกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร |
ข้อ 15. | ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ |
15.1 ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง | |
15.2 ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคน เป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ | |
15.3 บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมา เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวน กรรมการที่จะพึงมีหรือพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนน เสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือพึงเลือกในครั้งนั้น ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด | |
ข้อ 16. | ผู้ที่จะเป็นกรรมการของบริษัทได้ จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ |
16.1. บรรลุนิติภาวะ | |
16.2. ไม้เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ | |
16.3. ไม่เคยรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเก่ียวกับทรัพย์ที่ได้กระทําโดยทุจริต | |
16.4. ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่ |
|
ข้อ 17. | ในการประชุมสามัญประจําปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตําแหน่งหนึ่งในสาม ถ้าจํานวนกรรมการ ที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจํานวนใกล้ที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม กรรมการที่ จะต้องออกจากตําแหน่งในป็แรกและปีท่ีสองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้นให้ใช้วิธีจับสลากกันว่าผู้ใดจะออกส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตําแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจาก ตําแหน่ง กรรมการที่ออก ตามวาระนั้นอาจถูกเลือกเข้ามาดํารงตําแหน่งใหม่ก็ได้ |
ข้อ 18. | นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ |
18.1. ขาดคุณสมบัติในข้อ 16. | |
18.2. ตาย | |
18.3. ลาออก | |
18.4. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชนจํากัด |
|
18.5. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้ออก | |
18.6. ศาลมีคําสั่งให้ออก | |
ข้อ 19. | กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่งให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัทการลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออก ไปถึงบริษัทกรรมการที่ลาออกตามวรรคหนึ่งจะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้ |
ข้อ 20. | ในกรณีที่ตําแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการ เลือกบุคคลใดบุคคลหน่ึง ซึ่งมีคุณสมบัติตามกฎหมายกําหนดเข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุม คณะกรรมการคราวถัดไป เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่า 2 เดือน บุคคลซึ่งเข้าเป็น กรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทนมติของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของจํานวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ |
ข้อ 21. | คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการจัดการบริษัท โดยมีหรือไม่กําหนด ระยะเวลาว่าให้อยู่ในตําแหน่งนานเพียงใด ภายใต้เงื่อนไขข้อบังคับอย่างใดๆ ก็ได้ และคณะกรรมการ อาจถอดถอนกรรมการจัดการผู้นั้น ออกจากตําแหน่งแล้วแต่งตั้งกรรมการคนอื่นเป็น กรรมการแทน ต่อไปหรือไม่ก็ได้ ถ้ากรรมการจัดการต้องขาดจากตำแหน่งกรรมการก็ให้ขาดจากตำแหน่งกรรมการจัดการด้วย |
ข้อ 22. | ที่ประชุมอาจลงมติให้กรรมการคนใดคนหนึ่ง ออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงในการประชุมนั้น |
ข้อ 23. | กรรมการจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือไม่ก็ได้ |
ข้อ 24. | ให้คณะกรรมการเลือกกรรการคนหนึ่งเป็นประธากรรมการในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรจะเลือกกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธารกรรมการก็ได้ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการก็ได้ |
ข้อ 25. | ในการประชุมคณะกรรการต้องกรรมการการปรพชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุมในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ถ้ามีรองประธานกรรมการให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้่ที่ได้ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานประธานในที่ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก โดยกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนนกรรมการ ซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด |
ข้อ 26. | กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจน มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น จำนวนหรือกรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทนั้น ให้กรรมการอย่างน้อยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท และให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ |
ข้อ 27. | กรรมการจะรับหน้าที่ตำแหน่งอื่นในบริษัทก็ย่อมได้ |
ข้อ 28. | ห้ามมิให้กรรมการประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของบริษัทเอกชน หรือบริษัทอื่นที่ประกิบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นเว้นแต่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง |
ข้อ 29. | กรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หากมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับบริษัท หรือถือหุ้น หรือหุ้นกู้เพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัท หรือบริษัทในเครือ |
ข้อ 30. | คณะกรรมการของบริษัทต้องประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้งในท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือท้องที่ใกล้เคียงแห่งใดก็ได้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการถ้ากรรมการตั้งแต่สองคนขึ้นไปร้องขอให้เรียกประชุมคณะกรรมการ ให้ประธานกรรมการกำหนดวันประชุมภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ ในการเรียกประชุมคณะกรรมการให้ประธานกรรมการหรือผู้ซึ้งได้รับ มอบหมายส่งหนังสือนัดประชุมไปยังกรรมการไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนการประชุมเว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ |
หมวดที่ 5 การประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 31. | คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เป็นการประชุมสามัญประจำปีภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัท การประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วให้เรียกว่า “การประชุมวิสามัญ” คณะกรรมการจะ เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็น “การประชุมวิสามัญ” เมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร หรือผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ไม่ น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด หรือผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25 คน ซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่า หนึ่งในสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ได้เข้าชื่อกันทำหนังสือขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องระบุเหตุผลในการที่ขอให้เรียกประชุมไว้ให้ชัดเจนในหนังสือดังกล่าวด้วย คณะกรรมการต้องจัดประชุมภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น |
ข้อ 32. | ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ให้คณะกรรมการจัดทำเป็นหนังสือนัดประชุมระบุ สถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุม พร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังกล่าว และจัดส่งให้ผู้ถือหุ้น และนายทะเบียนทราบด้วยไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม และโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ติดต่อกัน 3 วัน ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน สถานที่ที่จะให้เป็นที่ประชุมตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในท้องที่อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท หรือท้องที่ในจังหวัดใกล้เคียง เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม |
ข้อ 33. | ในการประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีผู้ถือหุ้น และผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) มาประชุมไม่น้อยกว่า 25 คน หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด และต้องนับจำนวนหุ้นรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใด เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึงหนึ่งชั่วโมงจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ หากว่าการประชุมผู้ถือหุ้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ การประชุมเป็นอันระงับไป ถ้าการประชุมผู้ถือหุ้นนั้นมิใช่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ ให้นัดประชุมใหม่ และให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม ในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าต้องครบองค์ประชุม |
ข้อ 34. | การออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ว่าด้วยวิธีการใดให้นับหนึ่งหุ้นเป็นหนึ่งเสียง มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นให้ประกอบด้วยคะแนนเสียงดังต่อไปนี้ |
34.1.ในกรณีปกติให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุมและออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียง | |
34.2.นกรณีต่อไปนี้ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
|
|
ข้อ 35. | กิจการอันที่ประชุมสามัญประจําปี พึงกระทํามีดังนี้ |
35.1. พิจารณารายงานของคณะกรรมการที่เสนอต่อท่ีประชุม แสดงถึงผลการดําเนินการของ บริษัทในรอบปีที่ผ่านมา | |
35.2. พิจารณาและอนุมัติงบดุล | |
35.3. พิจารณาจัดสรรเงินกําไร | |
35.4. เลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการท่ีออกตามวาระ | |
35.5. แต่งตั้งผู้สอบบัญชี | |
35.6. กิจการอื่น ๆ |
หมวดที่ 6 การบัญชีการเงินและการสอบบัญชี
ข้อ 36. | รอบปีบัญชีของบริษัทเริ่มต้นในวันท่ี 1 มกราคม และส้ินสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี |
ข้อ 37. | บริษัทต้องจัดให้มีการทําและเก็บรักษาบัญชี ตลอดจนการสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการน้ัน และต้องจัดทํางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน อย่างน้อยครั้งหนึ่งในรอบ 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของบริษัท |
ข้อ 38. | คณะกรรมการต้องจัดให้มีการทํางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุน ณ วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชี ของ บริษัทเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในการประชุมสามัญประจําปีเพื่อพิจารณาอนุมัติ งบดุลและบัญชี กําไรขาดทุนนี้ คณะกรรมการต้องจัดให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบให้เสร็จก่อนนําเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น |
ข้อ 39. | คณะกรรมการต้องจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ผู้ถือหุ้น พร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจําปี |
39.1. สําเนางบดุลและบัญชีกําไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว พร้อมกับรายงานการตรวจ สอบบัญชีของผู้สอบบัญชี | |
39.2. รายงานประจําปีของคณะกรรมการ | |
ข้อ 40. | บริษัทต้องจัดสรรกําไรสุทธิประจําปี ส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสํารองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกําไรสุทธิ ประจําปี หักด้วยยอดเงินสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสํารองน้ีจะมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ ของทุนจดทะเบียน |
ข้อ 41. | ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกําไร ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสม อยู่ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลเงินปันผลให้แบ่งตามจํานวนหุ้น หุ้นละเท่า ๆ กัน คณะกรรมการอาจจ่าย เงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นคร้ังคราว ในเมื่อเห็นว่าบริษัทมีผลกําไรสมควรพอที่จะทํา เช่นนั้น และรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป การจ่ายเงินปันผลให้ทําภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือคณะกรรมการลงมติ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้แจ้งเป็นหนังสือ ไปยังผู้ถือหุ้น และให้โฆษณาคําบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผลนั้น ในหนังสือพิมพ์ภายใน 1 เดือน นับ แต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ หรือคณะกรรมการลงมติแล้วแต่กรณี |
ข้อ 42. | เงินปันผลหรือดอกเบี้ยน้ัน แม้จะค้างจ่ายอยู่ จะคิดเอาดอกเบี้ยจากบริษัทไม่ได้ |
ข้อ 43. | ผู้สอบบัญชีต้องไม่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ดํารงตําแหน่งหน้าที่ใด ๆ ของบริษัท |
ข้อ 44. | ผู้สอบบัญชีมีอํานาจตรวจสอบบัญชี เอกสาร และหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวกับรายได้รายจ่าย ตลอดจน ทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทในระหว่างเวลาทําการของบริษัท ในการน้ีให้มีอํานาจสอบถามกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ดํารงตําแหน่งหน้าที่ใดๆ ของบริษัท และตัวแทนของบริษัท รวมทั้งให้ชี้แจงข้อ เท็จจริงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย ทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ตลอดจนการดําเนินกิจการของบริษัทได้ |
ข้อ 45. | ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ทุกครั้งท่ีมีการพิจารณางบดุล บัญชีกําไรขาดทุน และปัญหาเกี่ยวกับบัญชีของบริษัท เพื่อชี้แจงการตรวจสอบบัญชีต่อผู้ถือหุ้น ให้บริษัทจัดส่งรายงานและเอกสารของบริษัทท่ีผู้ถือหุ้นจะพึงได้รับ ในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนั้นให้ แก่ผู้สอบบัญชีด้วย |
หมวดที่ 7 หุ้นกู้
ข้อ 46. | โดยมติของท่ีประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทอาจออกตราสารดังต่อไปนี้ โดยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ |
46.1. หุ้นบุริมสิทธิ์ หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ซึ่งแปรสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ | |
46.2. หุ้นกู้ชนิดแปรสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ | |
46.3. หลักทรัพย์ประเภททุนทุกชนิดตามบทบัญญัติของกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง | |
46.4. ใบสําคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ หน่วยลงทุน หรือหลักทรัพย์ที่ระบุใน (1),(2),(3) |
หมวดที่ 8 บทเพิ่มเติม
ข้อ 47. | ตราของบริษัทให้ใช้ดังที่ประทับไว้นี้ |
ข้อ 48. | ในกรณีที่บริษัท หรือบริษัทย้อย ตกลงเข้าทํารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่เกี่ยวกับการได้มา
หรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ตามความหมายที่กําหนดตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับการ ทํารายการท่ีเกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน หรือรายการที่เกี่ยวกับการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่ง ทรัพย์สินของบริษัทจดทะเบียนแล้วแต่กรณี ให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีประกาศดังกล่าวกําหนดไว้ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย |
จรรยาบรรณกลุ่มบริษัทพรีเมียร์
กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ดำเนินธุรกิจโดยยึดถือความถูกต้องและเป็นธรรม และมีค่านิยมของชาวพรีเมียร์ที่ให้พนักงานของ กลุ่มฯ ถือปฏิบัติในการทำงานตลอดมา คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบและมุ่งมั่นทำงาน ความมีวินัย ความ สามัคคี ความเสียสละ และการพัฒนาไม่หยุดยั้ง ซึ่งถือเป็นจริยธรรมและคุณธรรมของกลุ่มฯ ที่ปฏิบัติมาโดยต่อเนื่อง
1. ข้อพึงปฏิบัติต่อลูกค้า
-
- สนองความต้องการของลูกค้า/ผู้บริโภคด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย
- เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
- ให้การรับประกันสินค้าและบริการภายใต้ข้อกำหนดอันเหมาะสม
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด
- กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงใดๆ กับลูกค้าได้ ต้องรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาและป้องกันความเสียหาย
- พยายามรักษาต้นทุนการผลิตให้ต่ำสุด โดยยังรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานตลอดเวลา
- จัดกลไกและระบบการบริการลูกค้าให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
- รักษาความลับของลูกค้าและข้อมูลลูกค้า
2. ข้อพึงปฏิบัติต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้
- ดําเนินธุรกิจต่อกันด้วยความยุติธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ เคารพและปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาท่ี กําหนดไว้ กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องรีบเจรจากับคู่ค้าหรือเจ้าหนี้เป็นการล่วงหน้าเพื่อร่วมกัน พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
- ไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ให้ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตกับคูคาหรือเจาหนี้ ถ้ามีข้อมูลว่ามีการจ่ายผล ประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตเกิดขึ้น พึงหารือกับคู่ค้าหรือเจ้าหนี้เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยยุติธรรมและ รวดเร็ว
3. ข้อปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
- แข่งขันทางการค้าภายในกรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
- ไม่แสวงหาข้อมูลท่ีเป็นความลับของคู่แข่งด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตผิดกฎหมาย
- ไม่ทําลายช่ือเสียงของคูแขงดวยการกลาวราย หรือกระทําการใดๆ โดยปราศจากความจริงและ ไม่เป็นธรรม
4. ข้อพึงปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตัดสินใจดําเนินการต่างๆ ด้วยความบริสุทธ์ิ โปร่งใส และเป็น ประโยชน์แก่บริษัทและผู้ถือหุ้น
- ปฏิบัติหน้าท่ีโดยใช้ความรู้ความสามารถและทักษะการบริหารจัดการอย่างเต็มความสามารถเพื่อ ประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
- จัดการดูแลไม่ให้ทรัพย์สินใดๆ ของบริษัทเสื่อมค่าหรือสูญหายโดยมิชอบ
- รายงานสถานะและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างครบถ้วนถูกต้องด้วยความเป็นจริง
- ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองหรือผูที่เกี่ยวของ โดยใช้ข้อมูลใดๆ ของบริษัทที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน
- ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทต่อบุคคลภายนอกโดยเฉพาะคู่แข่งของบริษัท
- ไม่ดําเนินการใดๆ ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทโดยมิได้แจ้งให้ บริษัททราบ
5. ข้อพึงปฏิบัติต่อสังคมส่วนรวม
- ไม่กระทําการใดๆ ท่ีจะมีผลเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
- ให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมส่วนรวม
- ปฏิบัติหรือควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานกํากับดูแล
- ใส่ใจและรับผิดชอบแก้ไขในภัยอันตรายที่สังคมหวั่นวิตก อันอาจเกิดจากผลิตภัณฑ์ / บริการ หรือ การดําเนินงานของบริษัท
- ไม่ให้การสนับสนุนหรือร่วมธุรกรรมกับบุคคลภายนอกที่เป็นภัยต่อสังคม หรือสภาพแวดล้อมส่วนรวม
6. ข้อพึงปฏิบัติของพนักงาน
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละและอดทน เพื่อความก้าวหน้าและความมั่นคง ของบริษัทและตัวพนักงานเอง
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร รวมทั้งแสวงหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงงานให้มี ประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- ปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับของบริษัทโดยเคร่งครัด
- ร่วมกันรักษาและสร้างสรรค์ให้เกิดความสามัคคีและความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันในหมู่พนักงาน ร่วมกัน ทํางานและแก้ไขปัญหาเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
- ใช้ทรัพย์สินของบริษัทให้เกิดประโยชน์แก่บริษัทอย่างเต็มที่และดูแลไม่ให้เสื่อมเสียหรือสูญหาย รวมท้ัง ไม่ใช้ทรัพย์สินของบริษัทเพื่อประโยชน์ของตนหรือบุคคลอื่น
- ไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทหรือของผู้อื่น
รวมถึงการไม่นำซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาใช้ในบริษัท - รักษาความลับของบริษัท ดูแลระมัดระวังไม่ให้เอกสารหรือข้อมูลอันเป็นความลับของบริษัทรั่วไหลหรือ ตกไปถึงผู้ไม่เกี่ยวข้องอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท
- ห้ามเปิดเผยหรือใช่ประโยชน์จากข่าวสารใดๆ ที่เป็นความลับทางธุรกิจของบริษัท ซึ่งรวมตลอดถึงสูตร กระบวนการ กรรมวิธีการผลิต ข้อมูลทางธุรกิจและข่าวสารท่ีเป็นสาระสําคัญอันถือว่าเป็นเรื่องที่พึง ปกปิดของบริษัทต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าโดยวิธีการใดๆ
- เอาใจใส่และช่วยดําเนินการใดๆ ที่จะรักษาความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทํางาน
- แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บริหารหากพบว่ามีการกระทําใดๆ ในบริษัทโดยมิชอบหรือผิดกฎหมาย รวมทั้งการมีไว้ในครอบครองหรือเสพยาเสพติด
- ไม่ใช้อํานาจหน้าที่ของตนหรือยอมให้บุคคลอื่นนใช้อํานาจหน้าท่ีของตนแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือ ผู้อื่นโดยมิชอบ
- ไม่กระทําการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัท
7. ข้อพึงปฏิบัติระหว่างพนักงาน (ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และ ผู้ร่วมงาน)
- ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ต่องานและสภาพแวดล้อมในการทํางาน ของบริษัทโดยส่วนรวมและเคารพในสิทธิของพนักงานอื่นที่อยู่ในบริษัทเดียวกัน
- ผู้บังคับบัญชาพึงปฏิบัติตนให้เป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบ ข้อบังคับโดยเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วย หลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทํานองคลองธรรม
- ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพนับถือ และปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความมีน้ําใจและ มนุษย์สัมพันธ์อันดี ไม่กล่าวร้ายผู้บังคับบัญชาและเพื่อนพนักงานโดยปราศจากซึ่งมูลความจริง
- ไม่นําผลงานของบุคคลอื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนเอง